งานวิจัยวัฒนธรรมภาคใต้
141
เช่น เมื่อถึงฤดูยางพาราผลัดใบก็จะเร่ร่อนไปอยู่ที่อื่น อาจกลับมารับจ้างกรีดยาง
ในฤดูต่อไปอีกก็ได้ และในการเร่ร่อนไปหาที่อยู่แหล่งใหม่ของซาไกนั้น อาจไปอยู่
กลุ่มเดียวตามล�ำพัง หรือไปอยู่รวมกับกลุ่มอื่นก็ได้ พวกที่เร่ร่อนนี้จึงก�ำหนดจ�ำนวน
กลุ่ม จ�ำนวนประชากร และแหล่งที่อยู่อาศัยได้ไม่แน่นอน ในบรรดาซาไกที่ยังเร่ร่อน
อยู่นี้ กลุ่มที่ยังมีวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมมากที่สุดเห็นจะได้แก่ ซาไกยะฮายที่พบที่บ้าน
หาลา ต�ำบลอัยเวง อ�ำเภอเบตง จังหวัดยะลา ซาไกกลุ่มนี้ยังไม่รู้จักสวมเสื้อ นุ่งแต่
ผ้าเตี่ยวทาบหว่างขาผืนเดียว พวกผู้ชายก็จะถือบอเลากับ บิลาเป็นอาวุธติดตัวอยู่
ตลอดเวลา ในขณะที่ซาไกเร่ร่อนกลุ่มอื่นอาจรู้จักสวมเสื้อ รู้จักนุ่งกางเกง หรือไม่
ก็นุ่งผ้าเป็นถุงเป็นผืนอย่างชาวบ้าน และละวางจากบอเลากับบิลาบ้างแล้ว เหตุ
ที่ซาไก ยะฮายที่พบที่บ้านหาลายังมีวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมมากที่สุด คงเนื่องมาจาก
พื้นที่ที่พวกเขาอยู่อาศัยนั้นเป็นบริเวณป่าบาลา-ฮาลา ซึ่งเป็นป่าผืนใหญ่ที่สุดและ
ยังสมบูรณ์ที่สุดในภาคใต้ จึงมีพื้นที่เร่ร่อนอย่างกว้างขวาง มีอาหารตามธรรมชาติ
สมบูรณ์ ประกอบกับยังมีผืนน�้ำของเขื่อนบางลางขวางกั้นไม่ให้คนภายนอกเข้าไป
ได้สะดวก ท�ำให้ไม่ใกล้ชิดกับชาวบ้านวัฒนธรรมภายนอกจึงมีโอกาสเข้าไปปะปน
ได้น้อย (ไพบูลย์ ดวงจันทร์ : 2546)
อย่างไรก็ตาม มีข้อค้นพบใหม่ที่บ่งบอกว่า การปรับตัวของซาไกเพื่อความ
อยู่รอด ยังคงต้องใช้เวลาอีกนาน แม้บางกลุ่มดูเหมือนว่าจะตั้งถิ่นฐานค่อนข้าง
ถาวรแล้ว เช่น กลุ่มเหนือคลองตง อ�ำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง วิถีดั้งเดิมของซาไก
จะผสมกลมกลืนกับธรรมชาติ แต่บุคคลภายนอกได้เข้าไปท�ำลายสมดุลธรรมชาติ
เป็นเหตุให้สัตว์ป่าเริ่มสูญพันธุ์ ทั้งจากการไล่ล่าเพื่อน�ำไปจ�ำหน่ายและการ
ขาดแคลนอาหารและที่อยู่อาศัย ส่งผลให้อาหารและปัจจัยพื้นฐาน ที่เคยแสวงหาได้
จากสภาพแวดล้อมธรรมชาติค่อยๆ หมดไป จ�ำเป็นต้องรับวัฒนธรรมจากภายนอก
ที่แพร่กระจายเข้าไปผสมผสานกับรูปแบบดั้งเดิม เพื่อความอยู่รอด ใน ลักษณะของ
การสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตาม ช่องว่างระหว่างวัฒนธรรมของ
ซาไกและวัฒนธรรมภายนอกที่แตกต่างกันมากท�ำให้ยากแก่การปรับตัว ประกอบ
กับการด้อยการศึกษา ถูกรบกวนและการเอารัดเอาเปรียบจากคนภายนอก ผลัก