งานวิจัยวัฒนธรรมภาคใต้
139
เกิดจากพี่สาวกับน้องชาย และลูกที่เกิดจากพี่ชายกับน้องสาว เพราะถือว่าพ่อสาย
เลือดต่างกัน นอกจากนั้นนิยมแต่งงานในกลุ่ม “มันนิ” หรือกลุ่มซาไกด้วยกันเอง
มากกว่า แม้ระยะหลังจะแต่งกับคนบ้านหรือ “หะมิ” บ้าง ครอบครัวที่ไม่มีลูกจะขอ
ลูกของญาติพี่น้องมาเลี้ยงเป็นลูกบุญธรรม พ่อหม้าย หรือแม่หม้ายจะหาคู่แต่งงาน
ใหม่ แม้จะสูงอายุก็ตาม และแม้ในอุดมคติจะเป็นครอบครัวแบบผัวเดียวเมียเดียว
แต่พบว่ามีหนุ่มซาไกคนหนึ่งมีภรรยาถึง 4 หรือ 5 คน พร้อมกัน และแยกทับอยู่ต่าง
หาก (อาภรณ์ อุกฤษณ์ : 2536)
ด้านสุขอนามัย พบว่า ซาไกกลุ่มที่ได้รับการพัฒนาสู่ความทันสมัยเพียงกลุ่ม
เดียว คือกลุ่มบ้านแหร อ�ำเภอธารโต จังหวัดยะลา มีโรงเรียนส�ำหรับเด็ก มีสถานี
อนามัยให้บริการด้านสาธารณสุข มีไฟฟ้าและเครื่องอ�ำนวยความสะดวก มีถนน
หนทางเข้าออกภายนอกได้สะดวก ได้รับสัญชาติไทยมีบัตรประจ�ำตัวประชาชน แต่
ขณะเดียวกันการตั้งบ้านเรือนถาวรท�ำให้ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม
ใหม่ได้ สุขภาพทรุดโทรมลง มีอัตราการตายสูง การเข้าไปของวัฒนธรรมภายนอก
อย่างรวดเร็ว และการพัฒนาที่เน้นวัตถุมากไป ท�ำให้สังคมซาไกกลุ่มดังกล่าวก�ำลัง
ตกอยู่ในภาวะของการสูญเสียเอกลักษณ์และภูมิปัญญาดั้งเดิม อีกทั้งยังหลงใหลกับ
วัตถุฟุ่มเฟือยจนตกอยู่ในสภาพแร้นแค้น และ “หมดตัว” ในปีพ.ศ.2516 หลังจากนั้น
ประชากรซาไกที่มีอยู่ประมาณ 60 คน ก็ลดจ�ำนวนลงเรื่อยๆ หลายครอบครัวอพยพ
ไปอยู่ในประเทศมาเลเซีย ที่เหลืออยู่ในพื้นที่ประมาณ 7-10 คน ในปัจจุบันก็เป็น
ซาไกหญิงหรือชายที่แต่งงานข้ามชาติพันธุ์กับชาวไทย (ไพบูลย์ ดวงจันทร์ : 2546)
ส่วนผลงานเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพของชาวซาไก ต�ำบล บ้านแหร อ.ธารโต
จ.ยะลา (วีรวัฒน์ สุขวราห์ : 2540) พบว่า เมื่อซาไกเจ็บป่วย “บอมอ” จะท�ำพิธีขอสมา
ลาโทษและท�ำ “ซาโฮล”โดยเคี้ยวหมากพลูและท่องคาถาก่อนพ่นลงไปบนอวัยวะ
ที่เจ็บปวดและใช้สมุนไพรรักษาโรค นอกจากนั้นผลงานวิจัยหลายเรื่องได้กล่าวถึง
สมุนไพรนานาชนิดที่ซาไกใช้ในการรักษาโรค ด้วยวิถีชีวิตที่คลุกคลีอยู่กับป่าเขา
ล�ำเนาไพรและมีความเชี่ยวชาญในการใช้สมุนไพรเพื่อรักษาโรคนี่เอง จึงให้สมญา
ว่า “ซาไก : เจ้าแห่งขุนเขาและสมุนไพร” (ไพบูลย์ ดวงจันทร์ : 2523)