Previous Page  139 / 326 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 139 / 326 Next Page
Page Background

138

สืบโยดสาวย่าน

ลักษณะการปกครองเป็นแบบประชาธิปไตย มีหัวหน้าที่เป็นผู้อาวุโสได้รับ

เลือกตั้งจากสมาชิกใน กลุ่ม ไม่มีการสืบเชื้อสาย ลูกบ้านจะให้ความเคารพย�ำเกรง

หัวหน้า หัวหน้าก็จะดูแลทุกข์สุข เป็นผู้น�ำในการแก้ปัญหา ตัดสินคดีข้อขัดแย้ง

(ไพบูลย์ ดวงจันทร์ : 2523)

ผลงานวิจัยของ อาภรณ์ อุกฤษณ์ (สุรินทร์ ภู่ขจรและคณะ : 2534)

ยังกล่าวถึง ระบบครอบครัว เครือญาติ กับการจัดระเบียบสังคมไว้ว่า สังคมซาไก

เป็นสังคมเครือญาติ สมาชิกในกลุ่มและกลุ่มใกล้เคียงนับเป็นญาติกันหมด การ

จัดระเบียบทางสังคมขั้นพื้นฐานของซาไก เริ่มจากระบบครอบครัว (family) ซึ่งจัด

อยู่ในประเภทครอบครัวเดี่ยว (Nuclear family) แยกกันอยู่เป็น “ฮะยะ” (ทับ) หรือ

“ซาโอ๊ะ” (กระต๊อบ) ครอบครัวหนึ่งประกอบด้วยสามี ภรรยา และลูกโสด สามีภรรยา

จะมีความใกล้ชิดกันตลอดเวลาไม่ว่าท�ำงานหรือพักผ่อน นอกจากผู้ชายจ�ำเป็นต้อง

ออกไปล่าสัตว์ เมื่อมีลูก สามีจะท�ำหน้าที่พ่อและเป็นผู้น�ำในการหาเลี้ยงครอบครัว

ภรรยามีหน้าที่เลี้ยงดูลูก หากสามีเสียชีวิตภรรยาจะท�ำหน้าที่แทน

หน่วยสังคมที่ใหญ่ขึ้นถัดจากครอบครัว คือกลุ่มชน (band) ประกอบด้วย

กลุ่มครอบครัว ทุกครอบครัวที่อาศัยใน “ฮะยะ” หรือ “ซาโอ๊ะ” ที่ตั้งกระจายกันอยู่ใน

บริเวณเดียวกัน ส่วนใหญ่จะมีพ่อแม่และครอบครัวของลูก และหลาน ผู้น�ำกลุ่มจะมี

บทบาทหน้าที่เป็นทั้งพ่อ พ่อตา พ่อสามี ปู่ หรือตา และเป็นหัวหน้ากลุ่มที่ทุกคนจะ

ต้องเคารพและเชื่อฟัง ท�ำนองเดียวกันภรรยาหัวหน้ากลุ่มก็จะมีบทบาทหน้าที่หลาย

อย่างรวมทั้งเป็น “โต๊ะบิดัด” หรือหมอต�ำแยด้วย บางกลุ่มอาจะมีญาติพี่น้องของพ่อ

หรือแม่หรือพ่อแม่ของเขย หรือสะใภ้มาอาศัยอยู่ด้วย จ�ำนวนสมาชิกในกลุ่มขึ้นอยู่

กับศักยภาพในการหาอาหารมาแบ่งปันกัน ดังนั้นเมื่อสมาชิกมากเกินไปสมาชิกบาง

ครอบครัวจ�ำเป็นต้องแยกไปตั้งกลุ่มใหม่

พวกเขาจะมีข้อห้ามในการแต่งงานระหว่าง พ่อแม่กับลูก พี่หรือน้องชาย

กับน้องหรือพี่สาวที่เกิดจากพ่อแม่เดียวกัน และลูกพี่ลูกน้องแบบคู่ขนาน (parallel

cousins) คือลูกที่เกิดจากพี่ชายกับน้องชาย และลูกที่เกิดจากพี่สาวกับน้องสาว แต่

อนุญาตให้ลูกพี่ลูกน้องแบบคู่ตรงกันข้าม (cross cousins) แต่งงานกันได้ เช่น ลูกที่