Previous Page  216 / 282 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 216 / 282 Next Page
Page Background

ทําเนียบคณะนักแสดงพื้นบาน

Directory of folk ensemble

๒๐๒

๘. เพลงประกอบพิธีกรรม

เพลงประกอบพิธีกรรมคือเพลงที่ใชรองประกอบในพิธีกรรมซึ่งมีทั้งพิธีกรรมที่เกี่ยวกับชีวิต

พิธีกรรมตามปฏิทินและพิธีรักษาโรค ในพิธีกรรมดังกลาวเพลงประกอบพิธีจะเปน สวนสําคัญยิ่งเพราะไดสรุป

จุดประสงค หรือหลักการในการทําพิธีนั้น ๆ ไวในบทรอง สวนดนตรีที่บรรเลงประกอบก็ชวยสรางบรรยากาศใหผูเขารวม

ในพิธีเกิดอารมณคลอยตาม เพลงประกอบพิธีกรรมที่เกี่ยวกับชีวิต ไดแก บทแหลตาง ๆ เปนตน

ลําดับขั้นตอนในการแสดงเพลงพื้นบาน

โดยทั่วไปการแสดงเพลงพื้นบานมีลําดับขั้นตอนในการเลนที่ปฏิบัติสืบตอกันมา ๕ ขั้นตอน ไดแก

๑. การไหวครู

เปนการกราบไหวบูชาเพื่อระลึกถึงและบอกกลาวขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่เคารพนับถือ ไดแก

พระรัตนตรัย เทวดา ภูตผี ตลอดจนพอแมและครูบาอาจารย

๒. การรองเพลงเกริ่น

เปนการรองของฝายชายและฝายหญิงกอนที่จะมาพบกันตามเหตุการณ ที่สมมุติไว ประกอบดวย

การรองเพลงออกตัว เพลงแตงตัวและเพลงปลอบ เพลงออกตัว คือ เพลงที่กลาวทักทายและแนะนําตัวซึ่งแสดงถึง

ความออนนอมถอมตน เพลงแตงตัว คือ เพลงที่พรรณนาถึงการอาบนํ้าและการแตงกาย และเพลงปลอบ คือ เพลงที่เชิญชวน

ใหฝายหญิงออกมารองเพลงโตตอบ ในเชิงออนวอนหรือทาทาย การรองเพลงเกริ่นนี้ ฝายชายจะรองกอนแลวฝายหญิง

จึงจะรองบาง

๓. การรองเพลงประ

หมายถึงการรองเพลงประคารมของฝายชายและฝายหญิง เมื่อไดพบกันแลว

การรองเพลงประนี้เปนชวงหัวเลี้ยวหัวตอของการเลนเพลง ซึ่งผูเลนจะเลือกวาจะเลนไปในแนวใด บางก็เลนแนวรักคือ

เริ่มจากการรองเพลงตับเกี้ยวพาราสี แลวอาจดําเนินเรื่องไปสู ตับลักหาพาหนีหรือตับสูขอ ตับชิงชูหรือตับตีหมากผัว

บางก็เลนแนวประลองฝปากหรือทดสอบภูมิปญญา เชน เพลงตับตอ ตับหมา ตับแมว ตับเชานา ตับเชาเรือ ตับซื้อควาย

ตับฉีดยา ตับถามบาลี ตับถามประเพณี ฯลฯ บางก็เลนแนวเพลงเรื่อง เชน พระเวสสันดร จันทโครพและลักษณวงศ เปนตน

การรองเพลงประจึงเปนชวงที่สนุกสนานที่สุด นับเปนหัวใจของการเลนเพลงอีแซวที่ขาดไมได

๔. การรองเพลงลาหรือเพลงจาก

เปนเพลงที่ใชรองเพื่อแสดงความอาลัยคูเลนเพลง ผูชมหรือกลาวคําอําลาผูชม

และเจาภาพที่หาวาจางมาแสดง

๕. การอวยพร

การอวยพรเปนขั้นตอนที่มักจะขาดไมได เพราะเปนการรองขอบคุณเจาภาพและผูดูทั้งหลาย

ที่หาวาจางและชมการแสดง รวมทั้งขอบคุณผูชมที่มาใหรางวัลตาง ๆ

กลาวโดยสรุป

เพลงพื้นบานเปนผลงานสรางสรรคที่เกิดจากภูมิปญญาของชนในทองถิ่นตาง ๆ ซึ่งสืบทอดกันมา

หลายชั่วอายุคน เดิมเพลงพื้นบานปรากฏอยูในวิถีชีวิตของคนไทยทุกเพศทุกวัย เราใชเพลงพื้นบานในการประกอบพิธีกรรม

ประกอบการงานอาชีพ ใชเปนการละเลนเพื่อความบันเทิง ใชเปนสื่อในการสอนใจและระบายความทุกข คนไทยจึงมี

ความผูกพันกับเพลงพื้นบานมาชานานปจจุบันแมวาสภาพสังคมจะเปลี่ยนแปลงไปจนทําใหเพลงพื้นบานบางเพลงตองปรับเปลี่ยน

รูปแบบเปนการแสดงพื้นบาน และบางเพลงก็สูญหายไปตามกาล แตเพลงพื้นบานก็ยังคงอยูในจิตวิญญาณของความเปน

ชาตินักกลอนเชนคนไทยเรื่อยมา ในภาวะที่สังคมไทยกําลังระสํ่าระสาย คนไทยตองหันยอนกลับมาหาสิ่งซึ่งจรรโลงใจ

เพื่อสรางพลังใหสามารถดํารงชาติอยูได เพลงพื้นบานจึงเปนสิ่งที่นาสนใจในฐานะที่เปนทรัพยซึ่งใหปญญาแกคนไทยไดเสมอ