Table of Contents Table of Contents
Previous Page  52 / 308 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 52 / 308 Next Page
Page Background

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงสามารถเล่นดนตรี

แจ๊สได้ทั้งชนิดมีโน้ตและไม่มีโน้ต พระอัจฉริยภาพของพระองค์จะปรากฏเด่นชัดใน

ตอนทรงแสดงเดี่ยว (solo) เพราะการแสดงเดี่ยวดนตรีแจ๊ส ที่ศัพท์ดนตรีเรียกว่า

Solo Ad Lib จะต้องใช้การเล่นสดแบบฉับพลัน (Improvisation) หรือที่มีผู้บัญญัติ

ศัพท์ว่า คีตะปฏิภาณ เป็นเรื่องยาก ผู้เล่นต้องใช้ปฏิภาณแต่งเนื้อหาใหม่ขึ้นอย่าง

ฉับพลันแต่ให้อยู่ในกรอบและจังหวะของแนวเพลงนั้น

เมื่อเสด็จนิวัตกลับประเทศไทยเป็นการถาวร ในปี พุทธศักราช ๒๔๙๓

ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์และข้าทูลละอองธุลีพระบาท

ร่วมเล่นดนตรี จึงเกิดวงดนตรีส่วนพระองค์ขึ้น ซึ่งมีด้วยกัน ๓ วง คือ วงลายคราม

วงดนตรี อ.ส. วันศุกร์ และ วงดนตรีสหายพัฒนา

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงใช้ดนตรีเป็น

สื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างพระองค์กับประชาชน นอกจากประชาชนทั่วไปแล้ว

ในหมู่นิสิตนักศึกษามีประเพณีที่ส�ำคัญอย่างหนึ่งคือ

“วันทรงดนตรี”

ซึ่งเป็นวันที่

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงร่วมบรรเลงดนตรีกับวงดนตรี

ของสถาบันการศึกษาต่าง ๆ วันทรงดนตรีมีขึ้นในระหว่าง พุทธศักราช ๒๕๐๐ –

๒๕๑๖ เริ่มจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันแรก ต่อมาทรงพระกรุณาเสด็จ

พระราชด�ำเนินทรงดนตรีที่มหาวิทยาลัยอื่นอีก ได้แก่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

วันทรงดนตรีจึงเป็นวันที่ชาวมหาวิทยาลัยได้ชื่นชมพระอัจฉริยภาพด้านดนตรีของ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พร้อมกันนี้สมเด็จพระนางเจ้าฯ

พระบรมราชินีนาถทรงบรรเลงเปียโน และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทรงขับร้อง นับเป็น

โอกาสอันดีที่นิสิตนักศึกษาและคณาจารย์ได้ชื่นชมพระบารมี และพระปรีชาสามารถ

ด้านดนตรีของทุกพระองค์ รวมทั้งได้รับฟังพระราชด�ำรัสที่มีคติเตือนใจอีกด้วย จาก

วโรกาสนี้ นักดนตรีวงมหาวิทยาลัยหลายคนมีโอกาสถวายตัวเป็นสมาชิกวงดนตรี

อ.ส. วันศุกร์ในเวลาต่อมา

48