

ในช่วงเวลาที่พระองค์ทรงดนตรีสม�่ำเสมอนั้น ทรงน�ำวิธีการบันทึกเสียงที่
ทันสมัยในยุคนั้นคือบันทึกเสียงได้เป็นช่อง (sound track) มาใช้ในการปรับปรุงวิธี
การเล่นดนตรีและคุณภาพในการบันทึกเสียงด้วยวิธีการนี้จึงทรงสามารถเล่นเครื่อง
ดนตรีได้หลายชิ้นในเพลงเดียวกัน เมื่อบันทึกเสียงเรียบร้อยแล้ว ก็จะทรงเปิดเทปฟัง
ทบทวนอย่างละเอียดเพื่อวิจารณ์การบรรเลงในแต่ละครั้ง พร้อมทั้งแก้ไขและบันทึก
เสียงใหม่ให้ดีขึ้น พระองค์จึงทรงพัฒนาคุณภาพของการเล่นดนตรีอยู่เสมอ
เมื่อเสด็จประพาสประเทศต่าง ๆ ได้แก่สหรัฐอเมริกาและฟิลิปปินส์ ได้ทรง
ดนตรีร่วมกับวงดนตรีของประเทศนั้น ๆ ตามค�ำกราบบังคมทูลเชิญ โดยมิได้เตรียม
พระองค์มาก่อน ครั้งเสด็จพระราชด�ำเนินเยือนประเทศออสเตรีย ในปีพุทธศักราช
๒๕๐๗ มีการแสดงดนตรีถวาย ณ คอนเสิร์ตฮอลล์ กรุงเวียนนา วงดนตรีนีเดอร์ เออส
เตอไรซ์ โทนคืนสเลอร์ ออร์เคสเตอร์ (N.O. Tonkunsler Orchester) ควบคุมวง
โดย ไฮน์ วัลเบอร์ก (Heinz Wallberg) ได้อัญเชิญเพลงพระราชนิพนธ์ชุดมโนห์รา
สายฝน ยามเย็น มาร์ชราชนาวิกโยธิน และ มาร์ชราชวัลลภ ไปบรรเลง เมื่อเพลง
แต่ละเพลงบรรเลงจบลง ผู้ฟังพากันปรบมือกึกก้องยาวนานไม่หยุด จนพระบาทสมเด็จ
พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ต้องทรงยืนขึ้นรับการแสดงความชื่นชมยินดี
ทุกครั้ง สถานีวิทยุของรัฐบาลออสเตรียได้กระจายเสียงเพลงและเสนอข่าวนี้
ไปทั่วประเทศ อีก ๒ วันต่อมา สถาบันการดนตรีและศิลปะการแสดงแห่งกรุงเวียนนา
(Die Akademie fur Musik und Darstellende Kunst in Wien) ได้ทูลเกล้าฯ
ถวายประกาศนียบัตรชั้นสูงอันทรงเกียรติยิ่งแด่พระองค์ และถวายพระเกียรติ
ให้ทรงด�ำรงต�ำแหน่งสมาชิกกิตติมศักดิ์ หมายเลข ๒๓ พร้อมทั้งได้จารึกพระปรมาภิไธย
บนแผ่นจ�ำหลักหินอ่อนของอาคารสถาบันเก่าแก่ของยุโรปแห่งนี้เพื่อแสดงว่า
มีพระอัจฉริยภาพทางดนตรีเป็นอย่างยิ่ง ทรงเป็นชาวเอเชียบุคคลแรกที่เป็นสมาชิก
กิตติมศักดิ์ของสถาบันดนตรีที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งในโลก
50