

Hampton) แจ๊ค ทีการ์เดน (Jack Teagarden) เบนนี กูดแมน (Benny Goodman)
สแตน เกตซ์ (Stan Getz) เบนนี คาร์เตอร์ ( Benny Carter) และเมย์นาร์ด เฟอร์
กูสัน (Maynard Ferguson) เป็นต้น การทรงดนตรีโดยมิได้เตรียมพระองค์มาก่อน
การที่ทรงบรรเลงท�ำนองเพลงขึ้นอย่างฉับพลัน และการที่ทรงบรรเลงโต้ตอบกับนัก
ดนตรีแจ๊สลือนามชาวอเมริกันได้อย่างสนุกสนานเช่นนี้ แสดงให้เห็นพระอัจฉริยภาพ
สูงยิ่งของพระองค์ และความเข้าใจธรรมชาติของดนตรีแจ๊สอย่างลึกซึ้ง พระเกียรติยศ
ด้านดนตรีจึงปรากฏเลื่องลือไปทั่วสหรัฐอเมริกาและวงการดนตรีในประเทศต่าง ๆ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเริ่มศึกษาและ
ฝึกฝนวิชาการดนตรีตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ขณะทรงศึกษาอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์
แลนด์ ทรงเรียนขับร้องในระดับชั้นอนุบาลและประถม เมื่อมีพระชนมายุได้ ๑๓
พรรษา ทรงเรียนการเล่นหีบเพลงชัก (accordion) เมื่อพระชนมายุ ๑๔ - ๑๕
พรรษา ทรงเริ่มศึกษาดนตรีอย่างจริงจัง ทรงซื้อแซกโซโฟนใช้แล้วมาในราคา ๓๐๐
บาท และทรงเริ่มเรียนดนตรีจากครู พระอาจารย์สอนดนตรีคนแรก คือ เวย์เบรชต์
(Weybretcht) เป็นชาวอัลซาส
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงศึกษาดนตรี
แบบคลาสสิกเป็นเวลา ๒ ปี ก่อนจะทรงฝึกฝนดนตรีประเภทที่พระองค์สนพระราช
หฤทัยอย่างจริงจัง นั่นคือ แจ๊ส พระองค์ทรงศึกษาประวัตินักดนตรีที่มีชื่อเสียงและ
ทรงเปรียบเทียบฝีมือการเล่นดนตรีของนักดนตรีเหล่านั้นจากแผ่นเสียง แล้วจึงทรง
บรรเลงสอดแทรกพร้อมกับเปิดแผ่นเสียงของนักดนตรีตามสไตล์ที่โปรด เช่น สไตล์
การเป่าโซปราโนแซกโซโฟน ของ ซิดนี เบเชต์ (Sydney Bechet) การบรรเลงอัลโต
แซกโซโฟน ของ จอห์นนี ฮอดเจส (Johny Hodges) การบรรเลงเปียโนและดนตรี
ของดุ๊ก เอลลิงตัน (Duke Ellington) เป็นต้น รูปแบบดนตรีแจ๊สที่โปรด คือ ดิกซีแลนด์
แจ๊ส (Dixieland Jazz) และ สวิง ซึ่งเป็นแนวเพลงดนตรีที่ให้ความรู้สึกสนุกสนาน
เบิกบาน และเปิดโอกาสให้ผู้เล่นแสดงความสามารถเฉพาะตนได้อย่างเสรี พระบาท
สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเครื่องดนตรีได้ทุกชนิด ตั้งแต่ เปียโน
กีตาร์ ฟลุต ไวโอลิน เครื่องทองเหลืองและเครื่องลมไม้ที่โปรดมากคือ แซกโซโฟน
คลาริเน็ต และทรัมเป็ต
46