

พระอัจฉริยภาพ
ด้านดุริยางคศิลป์และการพระราชนิพนธ์เพลง
“การดนตรีนี้ เป็นประโยชน์ต่อคนทั่วไปที่ไม่ได้เล่นดนตรี ไม่ได้แต่งเพลงไม่ได้
ร้องเพลง แต่ก็ฟังเพลง ก็เข้าถึงจิตใจของเขาได้ เท่ากับท�ำให้จิตใจเขามีความเบิกบาน
ก็ได้ ความเศร้าหมองก็ได้ ความตื่นเต้นก็ได้ ชักจูงต่าง ๆ ได้ นี่คือความส�ำคัญของ
การดนตรีซึ่งเหนือศิลปะอื่น ๆ ฉะนั้น การดนตรีจึงมีความส�ำคัญส�ำหรับประเทศชาติ
ส�ำหรับสังคม ถ้าท�ำดี ๆ ก็ท�ำให้คนเขามีก�ำลังใจที่จะปฏิบัติการงาน ก็เป็นหน้าที่ส่วน
หนึ่งที่ให้ความบันเทิง ท�ำให้คนที่ก�ำลังท้อใจมีก�ำลังใจขึ้นมาได้ คือเร้าใจได้ คนก�ำลัง
ไปทางหนึ่งทางที่ไม่ถูกต้อง ก็อาจดึงให้กลับมาในทางที่ถูกต้องได้ … ”
พระราชด�ำรัสพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
พระราชทานแก่คณะกรรมการสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย วันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๔
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงดนตรีได้หลาย
ประเภท ทั้งชนิดมีโน้ตและไม่ต้องมีโน้ตร่วมกับวงดนตรีต่างๆ ทั้งในประเทศไทยและ
ต่างประเทศ สามารถบรรเลงโต้ตอบได้อย่างครื้นเครงร่วมกับนักดนตรีที่มีชื่อเสียงของ
โลกหลายคน ทรงพระราชนิพนธ์เพลงไว้จ�ำนวนทั้งสิ้น ๔๘ เพลง โดยมีเพลง
“แสงเทียน” เป็นเพลงพระราชนิพนธ์แรก เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๙
พระอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถด้านดุริยางคศิลป์ของพระบาท
สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นที่ประจักษ์แจ้งทั่วไปทั้งในประเทศไทย
และในนานาประเทศ พระองค์ทรงพระปรีชาสามารถรอบด้าน คือ ทรงเป็นผู้เล่น
เครื่องดนตรีได้เกือบทุกชนิด ทรงพระราชนิพนธ์ท�ำนองเพลง เนื้อเพลง ทรงเป็นนาย
วงดนตรี ทรงก�ำกับควบคุมการแสดง ทรงเป็น “ครู” สอนผู้ไม่เป็นให้สามารถเล่นดนตรี
ได้แม้กระทั่งคนตาบอด และทรงพระปรีชาสามารถซ่อมเครื่องดนตรีด้วยพระองค์เอง
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระปรีชาสามารถ
ทางดนตรีในระดับสากล พระองค์ทรงเคยบรรเลงดนตรีโต้ตอบสด ๆ (Improvisation)
กับนักดนตรีแจ๊สที่มีชื่อเสียงของโลกหลายคน เช่น ไลออเนล แฮมป์ตัน (Lionel
44