Page 49 - ถอดบทเรียน
P. 49
๑. โครงสร้างความรู้ (Knowledge structure)
เป็นส่วนสำาคัญที่จะทำาให้ผู้รับสารมีกระบวนการคิดที่มีประสิทธิภาพ
ประกอบด้วยองค์ความรู้ ๕ ด้าน คือ ผลกระทบของสื่อ เนื้อหาของสื่อ
อุตสาหกรรมสื่อ โลกแห่งความจริง และตัวตนของผู้รับสาร
๑.๑ ผลกระทบของสื่อ (Media effects) ผู้รับสารจะตระหนักถึง
ความสำาคัญของการรู้เท่าทันสื่อได้นั้น ผู้รับสารต้องมีความรู้
เกี่ยวกับผลกระทบที่สื่อมีต่อผู้รับสารในรูปแบบต่าง ๆ
๑.๒ เนื้อหาของสื่อ (Media content) ความแตกต่างของ
แบบแผน (Formulas) ในการนำาเสนอเนื้อหาของสื่อ
ประเภทต่าง ๆ
๑.๓ อุตสาหกรรมสื่อ (Media industries) อุตสาหกรรม
สื่อจะช่วยให้ผู้รับสารเข้าใจจุดมุ่งหมายของสถาบันสื่อ
มากขึ้น
๑.๔ โลกแห่งความจริง (Real world) สารที่นำาเสนอจากสื่อ
ล้วนมีการประกอบสร้าง (Constructed) เป็นความรู้แฝง
(Tacit knowledge) และความจริงเทียม (Virtual reality)
เพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง ในสังคมบริโภคนิยมสาร
ส่วนใหญ่จะถูกสร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในเชิงธุรกิจ
๑.๕ ตัวตนของผู้รับสาร (The self) ความรู้ที่เกิดจากการสร้าง
มุมมองเฉพาะตนของผู้รับสารที่เกิดจากการเปิดรับสื่อ
โดยปราศจากการถูกครอบงำาความคิดซึ่งประกอบด้วย
ความตระหนักรู้เปาหมายของตนในการบริโภคสื่อ
ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ที่นำาไปสู่การพัฒนา
ทางความคิด (Cognitive) อารมณ์ (Emotional) และ
จริยธรรม (Moral)
๐๑
ถอดบทเรียนโครงการพัฒนาบุคลากรเครือข่ายทางวัฒนธรรม ประจําป พ.ศ. ๒๕๖๒ 47
หลักสูตรผู้บริหารเครือข่ายวัฒนธรรมและหลักสูตรผู้ประสานงานเครือข่ายวัฒนธรรม