Page 46 - ถอดบทเรียน
P. 46

ทั้งนี้ มูลนิธิสื่อ เพื่อการศึกษาของชุมชน (๒๕๕๘ : ๓๑)
          ได้ศึกษาวิจัย เรื่อง สำารวจภูมิทัศน์และอนาคตของการ
          จัดการสื่อในยุคหลอมรวมข้ามพรมแดน โดยนิยามสื่อใหม่

          ในยุคหลอมรวมทางเทคโนโลยีว่า เป็นสื่อดิจิทัลที่มีลักษณะโต้ตอบได้
          เปลี่ยนรูป และถูกส่งต่อไปยังช่องทางอื่นได้ง่าย หรือเป็นสื่อที่ถูกสร้าง
          ซึ่งในยุคสื่อดั้งเดิมผู้คนส่วนใหญ่อยู่ในฐานะเป็นเพียงผู้รับสื่อหรือ
          ผู้บริโภคข้อมูลข่าวสารเท่านั้น



                ธาม เชื้อสถาปนศิริ (อ้างถึงใน ฐานะวัฒนา สุขวงศ์
          และคณะ, ๒๕๕๗ : ๑๕) กล่าวถึง สื่อใหม่ที่มีบทบาทอย่างหลากหลาย
          รอบด้านในปจจุบัน โดยนอกจากบทบาทด้านการสื่อสารทั่วไปแล้ว

          สื่อใหม่สามารถแสดงบทบาทการเสริมสร้างคุณภาพของความรู้
          ความคิดเห็นเสรีที่หลากหลาย รวมทั้งการส่งเสริมการสร้างความ
          สมานฉันท์ปรองดองได้ โดยเจ้าของสื่อหรือผู้ก่อตั้ง ทั้งในระดับ
          องค์กรขนาดใหญ่หรือส่วนบุคคล ทั้งนี้ ผู้ให้บริการเนื้อหา เจ้าของช่องทาง

          การสื่อสาร และผู้ใช้สื่อออนไลน์ทุกคน ควรมีความตระหนักรู้ถึง
          อิทธิพลและความสามารถของสื่อใหม่ และผลกระทบจากการใช้สื่อใหม่
          ซึ่งสื่อใหม่สามารถนำาไปใช้ในทางที่จะเกิดประโยชน์ในด้านข่าวสาร
          ที่รวดเร็วหลากหลาย เป็นพื้นที่สาธารณะขนาดใหญ่ เปิดโอกาส

          ให้ความคิดเสรี การมีส่วนร่วม ให้มีการสืบค้น ตรวจสอบความจริง
          และนำาเสนอให้เป็นที่ประจักษ์ได้














         44        ถอดบทเรียนโครงการพัฒนาบุคลากรเครือข่ายทางวัฒนธรรม ประจําป  พ.ศ. ๒๕๖๒  ๐๑
                       หลักสูตรผู้บริหารเครือข่ายวัฒนธรรมและหลักสูตรผู้ประสานงานเครือข่ายวัฒนธรรม
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51