31
ความเป็นมา
เทศกาลสงกรานต์ส่วนใหญ่เฉลิมฉลองโดยชาวไต (ไทลื้อ) ในเขตการ
ปกครองตนเองสิบสองปันนา และเขตปกครองตนเองชนชาติไทและจิ่งพัว เต๋อ หง
ในมณฑลยูนนาน หรือใช้ชื่อว่า“เทศกาลสรงนํ้าพระ” ซึ่งตรงกับวันแรกของ
ปีปฏิทินชาวไต (ไทลื้อ) หรือวันขึ้นปีใหม่ไต เทศกาลดังกล่าวในภาษาไตพื้นเมือง
เรียกว่า “สังกาน”มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า การหมุนเวียน หมายถึงการ
หมุนของพระอาทิตย์เคลื่อนผ่านจักรราศีและวันปีใหม่มาเยือน จะมีการเฉลิม
ฉลองอย่างกว้างขวาง
จากการวิจัยของนักวิชาการชาวจีน ได้มาจากการบันทึกเทศกาล
สงกรานต์ดังกล่าวในหนังสือของราชวงศ์โจวเหนือระบุว่า ผู้คนต่างสาดนํ้า
ซึ่งกันและกันเพื่อความสนุกสนาน เทศกาลดังกล่าวได้รับความนิยมและได้รับ
การเฉลิมฉลองด้วยการร้องเพลง และเต้นรำ�ช่วงสมัยราชวงศ์ถัง โดยมีการยืนยัน
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์เป็นจำ�นวนมากในช่วงเวลาดังกล่าว ดังนั้น
กฎหมายท้องถิ่นในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ บัญญัติว่า ตั้งแต่วันที่ ๑๓ - ๑๕ เมษายน
ทั้งหมด ๓ วัน เป็นวันหยุดตามกฎหมายเพื่อเฉลิมฉลองเทศกาลสงกรานต์
ในเขตการปกครองตนเองสิบสองปันนา การพัฒนาการท่องเที่ยวทำ�ให้เทศกาล
สงกรานต์ได้รับความนิยมและกลายเป็นงานเฉลิมฉลองแห่งโลกตะวันออก
ในประเทศ
จีน
เ
ทศกาล
สงกรานต์