Page 131 - ถอดบทเรียน
P. 131

ดังนั้น ความเป็นพลเมืองโลก (Global citizenship) จึงอาจ
              ทับซ้อนกับมิติและพื้นที่ความเป็นพลเมืองดิจิทัลได้อาจขึ้นอยู่กับบริบท
              ของเวลา ประเด็น และสถานการณ์ กล่าวคือ สำานึกพลเมืองโลกอาจจะ

              ไม่จำาเป็นต้องผูกติดกับกรอบคิดความเป็นหนึ่งเดียวของเชื้อชาติ ศาสนา
              ภาษา และวัฒนธรรม หรือกรอบรัฐชาติของความเป็นพลเมืองแบบเดิม
              แต่สำานึกความเป็นพลเมืองโลกจะชัดเจนในการเข้าร่วมและรวมกลุ่ม

              ทางสังคมดำาเนินการสะท้อนประเด็น/เรื่องราวที่เกี่ยวกับความตระหนัก
              ในการเชื่อมโยงและการพึ่งพาอาศัยกันในระดับโลก และมีจิตสำานึก
              ร่วมถึงปญหาในระดับโลก หรือระหว่างท้องถิ่นกับโลก
                    ส่วนความเป็นพลเมืองดิจิทัล (Digital citizenship) ส่วนใหญ่
              จะเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับ “ปจเจกบุคคล” “พลเมือง” “เครือข่าย”

              และ “โลกดิจิทัล” โดยสืบเนื่องจากการปฏิวัติเทคโนโลยีการสื่อสาร
              ได้เปิดโอกาสและหยิบยื่นความท้าทายใหม่ ๆ ที่คาดหวังว่า บุคคล
              สามารถเข้าถึงและใช้อินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความ

              รับผิดชอบ และปลอดภัย โดยพลเมืองดิจิทัลสามารถเข้าถึงข้อมูล
              โดยไร้ข้อจำากัดเชิงภูมิศาสตร์ การรวมกลุ่มที่มีความสนใจร่วมกัน
              สร้างสรรค์และเสนอแนวคิดใหม่ ๆ ในการแก้ไขปญหา แต่ก็ต้องพร้อมรับ
              กับความเสี่ยงใหม่ ๆ เช่น การสร้างข่าวเท็จ สอดแนมความเป็นส่วนตัว
              อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น สำานึกใหม่ในพลเมืองดิจิทัล

              จึงต้องมีความตระหนักถึงสิทธิ ความรับผิดชอบ โอกาสและความเสี่ยง
              ในโลกดิจิทัล การพัฒนาความรู้และทักษะที่จำาเป็นในโลกดิจิทัลและ
              โลกอนาคต










                                                                           ๐๑
              ถอดบทเรียนโครงการพัฒนาบุคลากรเครือข่ายทางวัฒนธรรม ประจําป  พ.ศ. ๒๕๖๒  129
                   หลักสูตรผู้บริหารเครือข่ายวัฒนธรรมและหลักสูตรผู้ประสานงานเครือข่ายวัฒนธรรม
   126   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136