Previous Page  16 / 54 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 16 / 54 Next Page
Page Background

15

๑. ข้อที่ ๑ เช้า ราศีอยู่ที่ใด

๒. ข้อที่ ๒ เที่ยง ราศีอยู่ที่ใด

๓. ข้อที่ ๓ คํ่า ราศีอยู่ที่ใด

(ราศี หมายถึง ความอิ่มเอิบ ความภาคภูมิ)

ธรรมบาลกุมารขอผลัดไปเจ็ดวัน ปรากฏว่าเวลาล่วงถึงวันที่หกก็ยังคิด

หาคำ�ตอบไม่ได้จึงไปนอนอยู่ใต้ต้นตาล บังเอิญขณะนั้นได้ยินเสียงนกอินทรี

สองผัวเมียคุยกันว่า วันรุ่งขึ้นจะได้กินศพธรรมบาลกุมาร เพราะตอบปริศนาไม่ได้

พร้อมกันนั้นนกตัวผู้ก็ได้เฉลยคำ�ตอบ

๑. เช้า ราศีอยู่ที่หน้า มนุษย์จึงเอานํ้าล้างหน้า

๒. เที่ยง ราศีอยู่ที่อก มนุษย์จึงเอาเครื่องหอมประพรมที่อก

๓. คํ่า ราศีอยู่ที่เท้า มนุษย์จึงเอานํ้าล้างเท้า

ธรรมบาลกุมารได้ยินสามารถตอบปริศนาได้ ดังนั้น ท้าวกบิลพรหม

จึงต้องตัดศีรษะบูชาธรรมบาลกุมาร แต่ก่อนจะตัดศีรษะ ท้าวกบิลพรหมก็ได้เรียก

นางธิดาทั้งเจ็ดของตนที่เป็นบาทบริจาริกา (แปลว่านางบำ�เรอแทบเท้าหรือสนม)

ของพระอินทร์มาสั่งเสียว่า ศีรษะตนนั้นหากตั้งไว้ในแผ่นดินไฟก็ไหม้ทั่วโลก

หากทิ้งในอากาศฝนก็จะแล้ง ถ้าทิ้งในมหาสมุทรนํ้าก็จะแห้ง ดังนั้น จึงให้ธิดาทั้งเจ็ด

นำ�พานมารองรับศีรษะที่ถูกตัด แล้วนำ�ไปแห่รอบเขาพระสุเมรุ จากนั้นก็อัญเชิญ

ไปประดิษฐานที่มณฑป ถํ้าคันธุลี เขาไกรลาส ครั้นถึง ๓๖๕ วัน ซึ่งโลกสมมุติว่า

เป็นปีหนึ่งเวียนมาถึงวันมหาสงกรานต์ เทพธิดาทั้งเจ็ด ก็จะทรงพาหนะต่าง ๆ

ผลัดเวรกันมาเชิญพระเศียรของบิดาออกแห่ โดยเทพธิดาทั้งเจ็ดนี้ปรากฏในวัน

มหาสงกรานต์เป็นประจำ� จึงชื่อว่า

“นางสงกรานต์”

ส่วนท้าวกบิลพรหมซึ่งมี

อีกชื่อว่า

ท้าวมหาสงกรานต์

นั้นโดยนัยก็คือ พระอาทิตย์นั่นเอง เพราะ

กบิล

แปลว่า

สีแดง