Previous Page  24 / 54 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 24 / 54 Next Page
Page Background

ลอยกระทง

23

ในสมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นช่วงที่บ้านเมือง

มั่นคง การศึกสงครามลดลงเกือบหมด การค้าก็มั่งคั่งขึ้น โดยเฉพาะ

กับจีน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้ฟื้นฟู

ประเพณีพิธีกรรมสำ�คัญเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของราชอาณาจักร

และด้วยความจำ�เป็นในด้านอื่น ๆ อีก จึงได้ทรงพระราชนิพนธ์

หนังสือ

ตำ�ราท้าวศรีจุฬาลักษณ์

หรือ

นางนพมาศ

ขึ้นมา โดย

สมมุติให้ฉากของเรื่องเกิดขึ้นในยุคพระร่วงเจ้ากรุงสุโขทัย ซึ่งตำ�รา

ดังกล่าวได้พูดถึงนางนพมาศว่าเป็นพระสนมเอกของพระร่วง ที่ได้

คิดประดิษฐ์กระทงใบตองเป็นรูปดอกบัวกมุทขึ้น ด้วยเห็นว่าเป็น

ดอกบัวพิเศษที่บานในเวลากลางคืนเพียงปีละครั้ง สมควรทำ�เป็น

กระทงแต่งประทีป ลอยไปถวายสักการะรอยพระพุทธบาท ซึ่งเมื่อ

พระร่วงเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นก็รับสั่งถามถึงความหมาย นางก็ได้

ทูลอธิบายจนเป็นที่พอพระราชหฤทัย พระองค์จึงมีพระราชดำ�รัสว่า

แต่นี้สืบไปเบื้องหน้าโดยลำ�ดับ กษัตริย์ในสยามประเทศ

ถึงกาลกำ�หนดนักขัตฤกษ์ วันเพ็ญเดือน ๑๒ ให้ทำ�โคมลอยเป็น

รูปดอกบัว อุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมมทานที ตราบเท่า

กัลปาวสาน

” ด้วยเหตุนี้ จึงเกิด

กระทง

ทำ�ด้วยใบตองแทน

วัสดุอื่น ๆ แล้วนิยมใช้ลอยกระทงมาแต่คราวนั้นตราบจนทุกวันนี้

รวมถึงการทำ�

กระทงเป็นรูปดอกบัว

ซึ่งตำ�ราท้าวศรีจุฬาลักษณ์

หรือนางนพมาศนี้ กรมพระยาดำ�รงราชานุภาพทรงเชื่อว่าเป็น

พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว