![Show Menu](styles/mobile-menu.png)
![Page Background](./../common/page-substrates/page0025.jpg)
24
ลอยกระทง
เนื่องจากสำ �นวนโวหารมีลักษณะร่วมกับวรรณกรรม
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ อีกทั้งยังมีข้อความหลายตอนที่แสดง
ให้เห็นว่าแต่งสมัยกรุงสุโขทัยไม่ได้ เช่น การอ้างถึงอเมริกัน ปืนใหญ่
เป็นต้น ดังนั้น นางนพมาศจึงเป็นเพียง “
นางในวรรณคดี
” มิได้
มีตัวตนอยู่จริง
นอกจากนี้ ในศิลาจารึกสมัยสุโขทัยและเอกสารร่วมสมัย
ก็ไม่มีปรากฏชื่อ “ลอยกระทง” แม้แต่ในศิลาจารึกของพ่อขุนราม
คำ�แหงก็มีแต่ชื่อ “เ
ผาเทียน เล่นไฟ
” ที่มีความหมายอย่างกว้าง ๆ
ว่าการทำ�บุญไหว้พระ โดยไม่มีคำ�ว่า “ลอยกระทง” อยู่ในศิลาจารึก
นี้เลย ส่วนเอกสารและวรรณคดีสมัยกรุงศรีอยุธยาสมัยแรก ๆ ก็มี
แต่ชื่อ
ชักโคม ลอยโคม แขวนโคม และลดชุดลอยโคมลงน้ำ�
ในพิธีพราหมณ์ของราชสำ�นักเท่านั้น และแม้แต่
ในสมัยกรุงธนบุรีก็ไม่มีชื่อนี้ จนถึงยุคต้น
กรุงรัตนโกสินทร์จึงมีปรากฏชัดเจน
ในพระราชพงศาวดารแผ่นดิน
รัชกาลที่ ๓ ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์
และเรื่องนางนพมาศ พระราชนิพนธ์
รัชกาลที่ ๓ ซึ่งก็หมายความว่า
คำ�ว่า “ลอยกระทง” เพิ่งปรากฏ
ในต้นกรุงรัตนโกสินทร์นี้เอง