12
ลอยกระทง
และเมื่อพ้นไปจากนี้ก็เริ่มขึ้น
ปีนักษัตรใหม่
เรียกเดือนอ้าย
แปลว่าเดือนหนึ่ง ตามคำ�โบราณนับหนึ่ง สอง สาม ฯลฯ ว่า อ้าย
ยี่ สาม เป็นต้น และเมื่อเทียบช่วงเวลากับปฏิทินตามสุริยคติที่มี
ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางก็จะตกราวเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน
ของทุกปี และหลังจากรับศาสนาพุทธ-พราหมณ์จากอินเดียเมื่อราว
๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว ราชสำ�นักโบราณในสุวรรณภูมิก็ได้ปรับพิธีกรรม
“
ผี
” เพื่อขอขมาน้ำ�และดินให้เข้ากับศาสนาที่รับเข้ามาใหม่
ทำ�ให้
ความหมายเดิมเปลี่ยนไป กลายเป็นการลอยกระทง เพื่อบูชา
พระพุทธเจ้าและเทวดา
ซึ่งในส่วนนี้มีพยานหลักฐานเก่าสุด คือ
รูปสลักพิธีกรรมทางน้ำ� คล้ายลอยกระทงที่ปราสาทหินบายนใน
นครธม ทำ�ขึ้นราวหลัง พ.ศ. ๑๗๐๐ แต่สำ�หรับชุมชนชาวบ้านทั่วไป
ก็ยังเข้าใจเหมือนเดิม คือ ขอขมาแม่พระคงคาและแม่พระธรณี
ดังมีหลักฐานปรากฏอยู่ในเอกสารของลาลูแบร์ชาวฝรั่งเศสที่บันทึก
พิธีชาวบ้านในกรุงศรีอยุธยาสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
เอาไว้หลายตอน เช่น “ประชาชนพลเมืองจะแสดงความขอบคุณ
แม่คงคาด้วยการตามประทีปโคมไฟขนาดใหญ่ (ในแม่น้ำ�) อยู่หลายคืน...
เราจะได้เห็นทั้งลำ�แม่น้ำ�เต็มไปด้วยดวงประทีปลอยน้ำ�......” เป็นต้น