Previous Page  17 / 282 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 17 / 282 Next Page
Page Background

ทําเนียบคณะนักแสดงพื้นบาน

Directory of folk ensemble

๓. ซอสตริง เปนการซอคูที่มีการพัฒนานําเอาเครื่องดนตรีสมัยใหม เซน อิเลคโทน กลองชุด เขามาบรรเลงประกอบ

การซอแทนเครื่องดนตรีพื้นเมืองเดิม คือ ปจุมและซึงในซอแบบเชียงใหม และพิณกับสะลอในซอแบบเมืองนาน ซอสตริง

ใชทํานองประกอบการซอแบบเดียวกับการซอทั่วไป แตมีจังหวะในการซอที่เร็วและสนุกสนานมากกวา ในการซอชางซอ

จะยืนซอ และมีหางเครื่องเตนประกอบในการซอดวย

เครื่องดนตรีประกอบการซอ

เครื่องดนตรีประกอบการซอแบงตามความนิยมในทองถิ่นแบงเปน ๒ แบบ คือ เครื่องดนตรีประกอบการซอแบบ

เชียงใหม และเครื่องดนตรีประกอบการซอแบบเมืองนาน

๑. เครื่องดนตรีประกอบการซอแบบเชียงใหม ประกอบดวยปจุม และซึง ปจุมเปนเครื่องดนตรีประเภทเปาที่ทํามา

จากไมไผประเภทไมรวก โดยตัดเปนทอนๆ ขนาดตาง ๆ กันจํานวน ๓ เลา หรือ ๓ เลม ปเปนเครื่องดนตรี ที่อยูคูกับการซอ

มาโดยตลอด ปจึงเปนเครื่องดนตรีที่มีความสําคัญกับการซอ ทําใหการซอนั้นจะใชเปนชุดเรียก “ปจุม” หรือ “ปชุม”

บรรเลง รวมกันเปนวงเรียก “วงปจุม” ในสมัยกอนมีป ๓ เลม คือ ปกอย ปกลาง ปแม ปกอยใชในการนําเปนตัวหลัก

ในการบรรเลงเพลง ถาขาดไปซอจะไมสนุก ปกลางใหเสียงระดับปานกลาง ชวยรักษาระดับเสียงใหคงที่ สวนปแมใชในการ

คุมเสียงทั้งหมด ปีแมนี้ตอมาไดหายไปในชวงที่มีการนําเครื่องเสียงเขามาและไดนําซึงเขามาใชในการคุมเสียงแทนการซอ

ในปจจุบันใชปจุม ๔ ประกอบดวย ปกลาง ปถอย ปตัด และซึง

๒. เครื่องดนตรีประกอบการซอแบบเมืองนาน ประกอบดวยพิณ และสะลอ (ซอลอ) พิณเปนเครื่องสายสําหรับ

ดีดชุด จากไมทั้งทอน กลองเสียงเปนรูปกลมรีปดดวยแผนบาง ๆ เรียกวา “ตาด” มีการเจาะรูเสียงไวหนึ่งรู ใกลรูเสียงมี

“ก็อบ” สําหรับพาดสายจากทายกลองเสียง และขึงผานคอไปจนถึงหลักสายที่ปลายคอ บนคอมีลูกวางเรียงกันไปเพื่อรองรับ

สายที่ถูกกดลูกขณะเลน พิณที่ใชกับซอนานมีสายโลหะ ๔ สาย แยกขึ้นเปนสายคู ๆ อุปกรณ ที่ใชดีดสายใชเขาควาย

บาง ๆ เหลา เปนแผนแบๆ ยาวรี หรืออาจใชแผนพลาสติกแข็งมาเปนตัวดีดแทนได เครื่องดนตรีประกอบการซอเมืองนาน

อีกชิ้นหนึ่ง คือสะลอ (ซอลอ) เปนเครื่องสายสําหรับสีมีสายโลหะ – สายที่สี ดวยคันชัก ซึ่งทําดวยหางมาหรือสายไนลอน

ขึงบนกงไม กลองเสียงทําดวยกะลามะพราวที่ตัดออกประมาณ ๑ ใน ๓ สวน แกวปดดวยไมแผนบางๆ ที่เรียกวา “ตาด”

ทํานองซอ

ซอเปนการขับขานดวยทํานองที่มีคํารองสัมผัสคลองจองกันตามฉันทลักษณของแตละทํานองนั้นโดยเฉพาะ ซึ่งใน

แตละทํานองซอจะมีฉันทลักษณที่แตกตางกัน คําวา “ทํานองซอ” เปนคําที่ใชเรียกในเขตจังหวัดเชียงใหม เชียงราย ลําพูน

สวนในจังหวัดแพร และนานจะเรียกวา “ระบําซอ” นอกจากนี้ในการเรียกชื่อทํานองซอแตละทํานองมักจะเรียกไมเหมือนกัน

แตกตางกันไปตามทองถิ่น

ทํานองซอมีหลายทํานอง ทํานองที่นิยมใชในปจจุบันมีดังตอไปนี้

๑. ทํานองตั้งเชียงใหม หรือทํานองขึ้นเชียงใหม

ทํานองตั้งเชียงใหมเปนทํานองที่ใหความไพเราะ เปนทํานองที่ใชซอในบทแรก เปนทํานองเริ่มเรื่องของงาน

เพื่อเปนการทักทายหรือเปนการสวัสดีทานผูชม จะซอระหวางชาย - หญิง คนละ ๑ จบ ตอจากนั้น ชางซอชาย จะตั้งกลาย

คือ ซอเปลี่ยนทํานองเชียงแสนเพื่อรับเปนทํานองจาวปุ หรือจะปุตอไป

๒. ทํานองจาวปุ หรือจะปุ

ทํานองจาวปุ หรือจะปุ (ชางซอในจังหวัดนานเรียกทํานองนี้วา “ทํานองจกกก” เปนทํานองที่รับจากทํานองตั้ง

เชียงใหม มีความเพราะพริ้งออนหวาน มีฉันทลักษณตรงกับทํานองละมาย ตางกันที่เสียงสูงๆ ตํ่าๆ ที่เปนทํานอง ในการซอ

ทํานองนี้แบบจังหวัดนานจะไมใชคําวา “จิ่มแหละนอ” (สรอยลงทายของบทซอแตละบท) ในตอนจบ ที่สําคัญเปนทํานอง

ที่ใชซอไมนานสลับกันซอ คนละ ๔- ๕ จิ่ม หรือ ๔- ๕ บาท (จิ่ม คือ บทซอ ๑ บท) เทานั้น