Table of Contents Table of Contents
Previous Page  31 / 308 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 31 / 308 Next Page
Page Background

ระหว่างพุทธศักราช ๒๕๐๓ - ๒๕๑๐ เสด็จฯ เยือนมิตรประเทศในเอเชีย

ยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย จ�ำนวน ๑๔ ประเทศ เป็นการเจริญทางพระราชไมตรี

สร้างชื่อเสียงให้ประเทศเป็นที่รู้จักในสังคมโลก เพราะมีพระประมุขที่ทรงพระปรีชา

สามารถในวิชาการ ศิลปวัฒนธรรม และองอาจกล้าหาญ สิ่งส�ำคัญทรงมุ่งหวังที่จะ

แสวงหาความรู้ ประสบการณ์จากประเทศที่เจริญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เพื่อน�ำมาประยุกต์ให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมของประเทศไทย เช่น การได้รับความ

ร่วมมือจากประเทศเดนมาร์ก ในด้านผลิตฟาร์มโคนม เป็นต้น

ระหว่างพุทธศักราช ๒๕๑๐ - ๒๕๓๐ เสด็จพระราชด�ำเนินไปทรงเป็น

ก�ำลังใจ แก่ทหารหาญและเยี่ยมพสกนิกรในพื้นที่ชายแดนที่ประสบภัยคุกคามจาก

ลัทธิคอมมิวนิสต์ ในฐานะทรงด�ำรงต�ำแหน่งจอมทัพไทย ทรงเยี่ยมบ�ำรุงขวัญทหาร

ต�ำรวจ ในพื้นที่สู้รบถึงฐานปฏิบัติการทั่วทุกพื้นที่ โดยมิทรงหวั่นเกรงภยันตรายใดๆ

พระราชทานแนวทางให้ปฏิบัติด้วยสันติวิธี ทรงน�ำโครงการอันเนื่องมาจาก

พระราชด�ำริเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนา ให้ชายแดนเป็นรั้ว ด้านในเป็นศูนย์พัฒนา

เป็นแหล่งเรียนรู้ในการประกอบอาชีพ เป็นผลให้บ้านเมืองกลับคืนสู่ความสงบ

ด้านเกษตรกรรม

ทรงคิดค้นทางเลือกใหม่ให้แก่เกษตรกรเพื่อพึ่งพา

ตนเอง อย่างเข้มแข็ง เรียกว่า “เกษตรทฤษฎีใหม่” ด้วยแนวพระราชด�ำริใช้ที่ดินให้

ได้ประโยชน์สูงสุด

พุทธศักราช ๒๕๔๐ ประเทศไทยประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต�่ำ

ได้พระราชทานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) ทรงวาง

แนวทางการด�ำเนินชีวิตให้ราษฎร เป็นผลให้เกิดการพัฒนาสังคมและทรัพยากรบุคคล

อย่างมั่นคง ยั่งยืน

ด้านการศึกษา

ทรงมุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพชีวิตราษฎร ซึ่งเป็นทรัพยากรของ

ประเทศทุกๆ ระดับ มีพระราชด�ำริส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาทุกสาขาแก่เยาวชน

และประชาชนอย่างทั่วถึง การศึกษาในระบบโรงเรียนทั่วประเทศตั้งแต่ในเมืองไปถึง

ถิ่นทุรกันดาร เช่น โรงเรียนจิตรลดา ในภูมิภาค เช่น โรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์

โรงเรียนร่มเกล้า โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ฯลฯ จัดโครงการศึกษาทางไกลผ่าน

ดาวเทียม เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนครูและเพิ่มแหล่งศึกษาให้เยาวชนในถิ่นทุรกันดาร

มีโอกาสเล่าเรียนได้อย่างต่อเนื่อง การศึกษานอกระบบ ได้แก่ โรงเรียนพระดาบส และ

27