Previous Page  7 / 84 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 7 / 84 Next Page
Page Background

บันทึก นํ้าใจไมตรีที่สนามหลวง

7

คำ�นำ�

วันพฤหัสบดีที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นวันแห่งความวิปโยค และสุดโศกเศร้าของ

พสกนิกรชาวไทยทั้งประเทศ เมื่อทราบข่าวการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ประชาชนหลั่งไหลไปสักการะพระบรมศพ

ที่พระบรมมหาราชวัง วันละหลายหมื่นคน โดยบางคนต้องเข้าแถวรอกว่าสิบชั่วโมง เพื่อจะได้เข้าไปกราบ

พระบรมศพที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท

เมื่อคนหลายหมื่นคนมารวมกันอยู่ในที่เดียวกัน ก็จำ�เป็นต้องมีสิ่งอำ�นวยความสะดวกต่างๆ

ซึ่งต้องใช้ผู้ให้บริการหลายพันคนต่อวัน เช่น อาหาร นํ้าดื่ม ห้องสุขา การทิ้งขยะมูลฝอย รวมไปถึง

การรักษาความปลอดภัย และการรองรับสภาพที่เปลี่ยนแปลง เช่น แดดร้อน ฝนตก หรือ ต้นมะขามตาย

เป็นต้น

มีประชาชนจิตอาสา ลูกเสือ ข้าราชการ ตำ�รวจ ทหาร จำ�นวนหลายพันคน ได้ไปช่วยให้บริการ

อำ�นวยความสะดวกแก่ผู้ที่คอยเข้าไปสักการะพระบรมศพ จนเกิดกิจกรรมทำ�ความดี การแสดงนํ้าใจไมตรี

และหลายสิ่งหลายอย่างบริเวณท้องสนามหลวง บางอย่างเป็นสิ่งใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน จนอาจจะ

กล่าวได้ว่าเป็นกิจกรรมนํ้าใจไมตรีครั้งยิ่งใหญ่ในระดับโลก

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม มีความชื่นชมและเห็นว่าควรจะบันทึกยกย่อง

คุณความดีที่เจ้าหน้าที่และจิตอาสาต่างๆ ได้ร่วมกันปฏิบัติในครั้งนี้ จึงได้ประกาศเกียรติคุณ

โดยแจกเกียรติบัตรให้แก่จิตอาสาที่ปฏิบัติงานที่สนามหลวงในช่วงเวลาดังกล่าวเกินกว่า ๓๐ ชั่วโมง

จำ�นวนประมาณ ๒,๐๐๐ คน และจัดพิมพ์หนังสือบันทึกนํ้าใจไมตรีที่สนามหลวงฉบับนี้เพื่อรวบรวม

เรื่องราวความเป็นมา และภาพถ่ายของกิจกรรมนํ้าใจไมตรีต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วง ๑๐๐ วันแรก

ของการสักการะพระบรมศพ ที่เกิดขึ้นบริเวณท้องสนามหลวง และกิจกรรมต่อเนื่อง ทำ�นองเดียวกับ

จดหมายเหตุวันวลิต สมัยกรุงศรีอยุธยา หรือจดหมายเหตุหลวงอุดมสมบัติ สมัยรัชกาลที่ ๕

เพื่อเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่อาจนำ�ไปลอกเลียนแบบในการทำ�ความดี หรือปรับปรุงแก้ไข

ให้ดีขึ้นต่อไป

ข้อความและภาพถ่ายที่ใช้ในเอกสารนี้ ส่วนหนึ่งนำ�มาจากสื่อต่างๆ จึงขอขอบคุณมา ณ ที่นี้