

บันทึก นํ้าใจไมตรีที่สนามหลวง
10
ความเป็นมา
ของโครงการนํ้าใจไมตรี
เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๖ ขณะที่ประเทศญี่ปุ่นกำ�ลังเตรียม
จัดงานกีฬาโอลิมปิค เช้าวันหนึ่งในฤดูหนาวที่สถานีรถไฟ
เมืองโตเกียว ซึ่งมีคนญี่ปุ่นจำ�นวนมากเร่งรีบเดินทางไป
ทำ�งานให้ทันเวลา ศาสตราจารย์ เซจิ คาย่า อธิการบดี
มหาวิทยาลัยโตเกียว ถูกฝูงคนเบียดกระเด็นจนล้มลงที่พื้น
โ ดย ไม่มีใครฉุดมือหรือหยุดให้การช่วย เ หลือ เ ลย
ท่านศาสตราจารย์มีความรู้สึกเสียใจมากว่า ทำ�ไมนํ้าใจ
ไมตรีของคนญี่ปุ่นที่เคยมีมาช้านานนั้นได้ หายไปไหนหมด
ท่านจึงได้ชักชวนลูกศิษย์และคนรู้จักมาจัดกิจกรรม
รณรงค์นํ้าใจไมตรีเล็กๆ น้อยๆ
(Small Kindness)
ซึ่งต่อมาได้กระจายไปทั่วประเทศญี่ปุ่น โดยได้รับการ
สนับสนุนจากผู้นำ�ชุมชนและรัฐบาลญี่ปุ่น โดยใช้คำ�ขวัญว่า
“ช่วยกันแสดงนํ้าใจไมตรีเท่าที่ทำ�ได้ จนกระทั่งนํ้าใจไมตรี
เป็นมาตรฐานของสังคม” “Let us show whatever
kindness we can, so that kindness will be
the norm in society”
โครงการดังกล่าวได้รณรงค์
ให้คนญี่ปุ่นยิ้มให้กัน กล่าวคำ �ว่า สวัสดี ขอบคุณ
ช่วยเหลือกัน เก็บขยะข้างถนน ขยะริมแม่นํ้า ปลูกดอกไม้
ริมทางสาธารณะฯลฯ ปัจจุบันนี้ โครงการนํ้าใจไมตรีญี่ปุ่น
มีสมาชิก ๔๕๐,๐๐๐ คน มีการให้รางวัลคนทำ�ความดีด้วย
นํ้าใจไมตรีไปแล้วกว่า ๓ ล้านคน และในพ.ศ. ๒๕๔๐ ได้มี
การขยายกิจกรรมไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก
๑ั
นึ กํ้ าี
ที่ส