Previous Page  162 / 282 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 162 / 282 Next Page
Page Background

ทําเนียบคณะนักแสดงพื้นบาน

Directory of folk ensemble

๑๔๘

หนังตะลุง

ความเปนมา

หนังตะลุง (Shadow Play) หมายถึง ศิลปะอันหลากหลายที่ใชในการเลานิทาน ใหเปนภาชนะของปญญา

เพราะปญญาไมมีตัวละคร ไมมีโครงเรื่อง ไมมีเหตุการณ จึงยากที่จะจดจํานําไปใชในชีวิตได ตองใชนิทานเปนภาชนะใส

โดยผูเลาจะอยูขางหลังจอผาขาว และโดยปกติจะเลากันในเวลากลางคืน

ศิลปะอันหลากหลายที่ใช เชน ศิลปะการสรางรูปตัวละครที่ทําจากหนังสัตว ศิลปะการใชเสียงคนศิลปะการใชเสียง

ดนตรี ศิลปะการเชิดรูป เปนตน

การแสดงหนังตะลุงในภาคใตของประเทศไทย เรียกไดหลายอยาง ซึ่งก็ขึ้นอยูกับยุคสมัยและพื้นที่ อาทิ หนังตะลุง

หนังควน หนังควาย หนังโหมง วายังกูเละ หนังเลน หนังขับ หนังรํา หนังฉะ เปนตน สําหรับในภาคอื่น ๆ เชน ในภาคกลาง

(ราชบุรี, เพชรบุรี, พระนครศรีอยุธยา เรียกวาหนังใหญ) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน (มหาสารคาม, ขอนแกน

เรียกวา หนังประโมทัย หรือหนังบักตื้อ) ภาคตะวันออก (ระยอง เรียกวา หนังกระหยวก) ฯลฯ

ความเปนมา

หนังตะลุงในภาคใตประเทศไทย ไดมีการสันนิษฐานที่มามากมายหลายกระแส อาทิ

๑. มาจาก หนังใหญ

ของคนภาคกลางในประเทศไทย เพียงแตคนปกษใตมายอสวนใหเล็กลง

๒. มาจาก คนอาหรับ

คนอินเดีย ที่มาติดตอคาขายกับคนไทยในปกษใตสมัยโบราณ ซึ่งมีหลักฐานทางโบราณคดี

มากมาย อาทิ ที่สุราษฎรธานี นครศรีธรรมราช พังงา กระบี่ เปนตน ประกอบกับคนอาหรับ ก็นิยมการเลานิทานกัน

ในยามคํ่าคืน ที่เรียกวา อาหรับราตรี และคนอินเดียก็เชนกัน ที่เรียกวา ชาดก

๓. มาจาก คนชวา

(ประเทศอินโดนีเซีย) เพราะในบทกลอนหนังตะลุงเกา ๆ ไดกลาวไว อาทิ ในบทกลอนของ

หนังกั้น ทองหลอ หนังอรรถโฆษิต (หนังฉิ้น ธรรมโฆษณ) ศิลปนแหงชาติทั้งสองทาน

เฉพาะคําวา ตะลุง คําเดียว ก็มีความเปนมา ไมชัด เพราะบางก็วามาจาก เสาที่ใชในการลามชาง ซึ่งใชขึงจอในการ

แสดงหนังตะลุงในยุคโบราณ มีการแสดงโดยควาญชาง บางก็วามาจาก เสียงกลอง ที่เมื่อหนังตะลุงเดินทางผาน ณ ที่ใด

ก็จะตีกลองดัง ตะลุง ตะลุง ไปดวย บางก็วามาจากคําวา พัทลุง เพราะในสมัยรัชกาลที่ ๓ แหงกรุงรัตนโกสินทร มีหนังควน

(คือ หนังตะลุง จากบานควนมะพราว) จังหวัดพัทลุง เขาไปแสดงที่กรุงเทพฯ เมื่อมีคนกรุงเทพ ฯ มาถาม คนใน

คณะหนังตะลุงที่ไปจากจังหวัดพัทลุง ก็จะตอบวาหนังพัทตาลุง เพราะโดยธรรมชาติของคนพัทลุงดั้งเดิม จะออกเสียง ท. เปน ต.

(เชน ไปเตี่ยวกันตั่ว หมายถึง ไปเที่ยวกันทั่ว)

หนังตะลุงปกษใตในปจจุบัน

หนังตะลุงปกษใตในปจจุบันมี ๓ แบบ ไดแก

๑. แบบทั่วไป คือ แบบหนังตะลุงที่อยูในจังหวัด ๑) นครศรีธรรมราช ๒) สุราษฎรธานี ๓) สงขลา ๔) พัทลุง

๕) ตรัง ๖) กระบี่ ๗) สตูล ๘) ชุมพร ๙) ระนอง ๑๐) ประจวบคีรีขันธ

๒. แบบดั้งเดิม คือ แบบหนังตะลุงที่อยูในจังหวัด ๑) ภูเก็ต ๒) พังงา (แตใน ๒ จังหวัดนี้ ปจจุบัน ก็มีหนังตะลุง

แบบทั่วไปอาศัยรวมอยูดวย)

๓. แบบวายังกูเละ คือ แบบหนังตะลุงที่อยูในจังหวัด ๑) ยะลา ๒) ปตตานี ๓) นราธิวาส (แตใน ๓ จังหวัดนี้

ปจจุบันก็มีหนังตะลุงแบบทั่วไปอาศัยรวมอยูดวยเชนกัน)