Page 37 - ถอดบทเรียน
P. 37
ทั้งนี้ ฐานะวัฒนา สุขวงศ์ และคณะ (๒๕๕๗ : ๒-๔) ได้ให้
ความหมายของสื่อใน ๓ ลักษณะ ดังนี้
๑. ความหมายในด้านการเปนผู้ส่งสาร กล่าวคือ เป็นต้นตอ
ของข่าวสาร ซึ่งความหมายโดยทั่วไปของผู้ส่งสาร อาจเป็นบุคคลหรือ
กลุ่มบุคคลที่ต้องการจะทำาการสื่อสารความคิด ความรู้สึก ความต้องการ
ข่าวสาร และวัตถุประสงค์ของตน หรืออีกนัยหนึ่งอาจเป็นองค์กร หน่วยงาน
ต่าง ๆ เช่น พรรคการเมือง บริษัท รัฐบาล หน่วยงานราชการก็ได้
มีความสำาคัญในการเป็นผู้เข้ารหัส (Encoder)
๒. ความหมายในด้านการเปนช่องทางการสื่อสาร
จากแบบจำาลองของเบอร์โล (Berlo) สื่อเป็นองค์ประกอบสำาคัญ
ในกระบวนการสื่อสาร จากผู้ส่งสารทำาการส่งสารไปยังผู้รับสาร โดยผ่าน
ช่องทางการสื่อสาร และอาจมีปฏิกิริยาสะท้อนกลับจากผู้รับสารสู่ผู้ส่งสาร
โดยในกระบวนการสื่อสารนั้น ผู้ส่งสารจะทำาหน้าที่เป็นผู้รับสารในบางขณะ
และผู้รับสารก็จะทำาหน้าที่เป็นผู้ส่งสารในบางขณะสลับสับเปลี่ยนกัน
ไปตามบทบาทในขณะนั้น ทั้งนี้ในกระบวนการสื่อสารอาจมีสิ่งรบกวน
หรือกีดขวางการสื่อสารได้
๓. ความหมายสื่อในเชิงเศรษฐศาสตร์ นิเทศศาสตร์ กล่าวถึง
สื่อมวลชนเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการรับส่งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับระบบ
การผลิตและการจัดการกับปจจัยการผลิตต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
แก่หน่วยธุรกิจด้วยความชาญฉลาดและทันเหตุการณ์ นอกจากนี้ สื่อมวลชน
ยังช่วยส่งเสริมการขายให้มีประสิทธิภาพโดยอาศัยกลยุทธ์การโฆษณา
เพื่อสร้างความต้องการและสร้างกระแสความนิยมให้เกิดกับมวลชน
โดยกระตุ้นให้มีการซื้อสินค้าและบริการมากขึ้น ถ้ามีปริมาณความต้องการ
สินค้าสูงและสินค้าขายได้มาก ก็จะมีผลทำาให้สามารถลดต้นทุนการผลิต
ให้ตำ่าลง อันจะมีผลทำาให้สินค้าราคาถูกลง
๐๑
ถอดบทเรียนโครงการพัฒนาบุคลากรเครือข่ายทางวัฒนธรรม ประจําป พ.ศ. ๒๕๖๒ 35
หลักสูตรผู้บริหารเครือข่ายวัฒนธรรมและหลักสูตรผู้ประสานงานเครือข่ายวัฒนธรรม