

บันทึก นํ้าใจไมตรีที่สนามหลวง
31
ในระยะต่อมา อาสาสมัครทั้งหลายจะต้องไปลงทะเบียนที่ศูนย์ประสานงานอาสาสมัคร
ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แล้วเลือกชนิดของงานที่ต้องการจะทำ� ถ้ายังไม่มีความเชี่ยวชาญพิเศษ
อะไร ก็มักจะเริ่มต้นด้วยการ
“เก็บขยะ”
โดยต้องเข้ารับการอบรม ให้รู้จักขยะประเภทต่างๆ วิธีเก็บ
วิธีแยกประเภทขยะรับป้ายห้อยคอและถุงขยะพลาสติก เพื่อเดินไปเก็บขยะในบริเวณจุดที่กำ�หนด
รอบสนามหลวง และต่อมาก็ทำ�หน้าที่เฝ้าถังขยะเพื่อแนะนำ�ให้ประชาชนแยกขยะก่อนทิ้งลงถัง
แต่ขยะในงานนี้ก็หาได้อย่างยากเย็น เพราะมักมีคนเก็บขยะคนอื่นเดินนำ�หน้าไปก่อน ต้องไปหา
จุดยืนใกล้ที่แจกอาหาร หรือแจกนํ้า แล้วตะโกนเชิญให้คนมาทิ้งขยะในถุงของตน กว่าจะได้เต็มถุง
ก็จะเหนื่อยมากแต่ทุกคนก็ทำ�งานกันอย่างไม่ย่อท้อ
ภาพการเก็บขยะที่สนามหลวงรุ่นแรกๆ ปรากฏในเฟซบุ๊ก Prae’ry Peachgirl เมื่อวันที่ ๑๔
ตุลาคม ๒๕๕๙ โดยมีข้อความว่า
“ไหนเราบอกเรารักพ่อ” วันนี้ได้ทำ�ความดีถวายพ่อ เรากับเพื่อนๆ
เดินเก็บขยะรอบสนามหลวง ของคนที่มารอรับเสด็จได้กินแล้วทิ้งกันไว้ !!! นาน ๓ ชม. ก็ยังไม่หมด
... มันเกิดอะไรขึ้น ?? จนนาทีสุดท้าย คนไทยก็ยังคิดไม่ได้กันอีกหรือ ???? #ราชภัฏคนของ
พระราชา #ราชภัฏสวนสุนันทา #ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
อีกหลายเดือนต่อมา กระทรวงวัฒนธรรม
ได้ค้นหากลุ่มนักศึกษาเก็บขยะทั้ง ๔ คน จนพบว่า
เป็นนักศึกษาคณะนิเทศศาสตร์ ของมหาวิทยาลัย
ร า ชภัฏส วนสุนันทา ชื่อน า ง ส า วณัฐ ธิ ด า
คุณดิลกรัตนา, นางสาวนลพรรณ จังอินทร์,
นางสาวพัทธนันท์ พุกอนันต์ และ นายณัฐภัทร
นำ�ศรีนิรันดร์ ที่ไปเดินเก็บขยะ ขวดนํ้า บนพื้น
ใส่ถุงพลาสติก บริ เวณท้องสนามหลวง ใน
วันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๙ ตั้งแต่ห้าโมงเย็น
ถึง สองทุ่ม จึงเชิญมารับเกียรติบัตรนํ้าใจไมตรี
จ า ก รัฐ มนต รี ว่ า ก า ร ก ร ะทร ว ง วัฒนธ ร ร ม
เพราะผลงานของนักศึกษาทั้งสี่คน เป็นหนึ่ง
ในแรงบันดาลใจให้มีผู้อยากทำ�ความดีต่อเนื่อง
ที่สนามหลวงเป็นจำ�นวนมาก