Table of Contents Table of Contents
Previous Page  6 / 308 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 6 / 308 Next Page
Page Background

ค�ำปรารภ

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

ในโอกาสการจัดพิมพ์หนังสือที่ระลึกและจดหมายเหตุ

เนื่องในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร

วันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๖๐

ตลอดระยะเวลา ๗๐ ปีแห่งการครองราชย์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

บรมนาถบพิตร ทรงปกครองประเทศชาติและประชาชนด้วยทศพิธราชธรรม ดังพระปฐมบรมราชโองการ

ที่ได้พระราชทานไว้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๔๙๓ ว่า “เราจะครองแผ่นดิน

โดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” และทรงตั้งมั่นในพระราชปณิธานอันแน่วแน่ที่จะทรงอุทิศ

ทุ่มเทก�ำลังพระวรกาย และก�ำลังพระราชหฤทัยในการบ�ำเพ็ญพระราชกรณียกิจนานัปการเพื่อความกินดีอยู่ดี

คุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่อาณาประชาราษฎร์ และความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืนของประเทศชาติ พระองค์

ท่านทรงงานด้วยหลักการ “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” รวมทั้งได้พระราชทานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

เพื่อเป็นแนวทางสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ผ่านโครงการอันเนื่องมาจากพระราชด�ำริหลากหลายสาขาเกือบ

๕,๐๐๐ โครงการ ก่อเกิดเป็น “ศาสตร์แห่งพระราชา” ซึ่งเป็นการวางรากฐานการพัฒนาประเทศให้เข้มแข็ง

อย่างยั่งยืน นับเป็นคัมภีร์อันล�้ำค่าแห่งแผ่นดินที่ได้พระราชทานแก่ลูกหลานไทย พระราชด�ำรัสและพระบรม

ราโชวาทในวาระโอกาสต่างๆ คือ ปรัชญาค�ำสอนและคติธรรมที่พระองค์ทรงปรารถนาให้ปวงชนชาวไทย

ทั้งหลายตั้งมั่นอยู่ในความดีงาม ความพอดี ความพอเพียง รักษาความเป็นชาติอารยะ นับเป็นบุญวาสนาของ

ประชาชนชาวไทยที่ได้เกิดมาอยู่ภายใต้ร่มพระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงเป็นเอตทัคคะ

ทั้งศาสตร์และศิลป์หลายแขนง ทรงเป็นทั้งปราชญ์และครูแห่งแผ่นดินที่ยิ่งใหญ่ที่ประชาชนชาวไทยต่าง

เทิดทูนไว้เหนือเศียรเกล้า พระอัจฉริยภาพอันล�้ำเลิศและพระปรีชาสามารถเป็นที่ประจักษ์ต่อสายตา

และประทับใจทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ จึงทรงได้รับการทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัล

เทิดทูนพระเกียรติยศในฐานะที่ทรงเป็นทั้งกษัตริย์ นักคิด และนักพัฒนา โดยทรงได้รับการทูลเกล้า

ทูลกระหม่อมถวายพระราชสมัญญามากมายหลายด้าน เช่น “อัครศิลปิน” “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย”

“พระบิดาแห่งฝนหลวง” “พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย” “พระบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย” “พระบิดาแห่ง

การอนุรักษ์มรดกไทย” “พระบิดาแห่งการวิจัยไทย” “พระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย” “พระผู้ทรง

เป็นครูแห่งแผ่นดิน” เป็นต้น โดยเฉพาะที่ส�ำคัญ องค์การสหประชาชาติได้น้อมเกล้าน้อมกระหม่อม

ถวายรางวัล “ความส�ำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์” และทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพระราชสมัญญา

“พระมหากษัตริย์นักพัฒนา” เพื่อเฉลิมพระเกียรติในฐานะที่ทรงอุทิศพระองค์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต

ที่ดีของประชาชนชาวไทย และพัฒนามนุษยชาติอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้น ยังได้ก�ำหนดให้วันที่ ๕ ธันวาคม

ของทุกปีเป็น “วันดินโลก” และน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย “รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดินเพื่อมนุษยชาติ”

เพื่อสดุดีพระเกียรติคุณแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ที่ทรงให้ความ

ส�ำคัญกับการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรดินจนพลิกฟื้นผืนดินเพื่อการท�ำเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน