Page 52 - กัมมัฏฐานโบราณล้านนา
P. 52

๓๙

ต้องเวน้ ส่งิ ท่เี ปน็ ข้อกงั วลต่างๆ แสวงหาสิ่งที่เป็นสัปปายะ คือสิ่งที่เก้ือหนุนต่อการปฏิบัติ เข้าไปหาครู
อาจารย์ผู้สามารถบอกกัมมัฏฐานแล้วสมาทานศีล และรับกัมมัฏฐานแล้วเร่ิมปฏิบัติสืบไป หลักอานา
ปานัสสติสมาธิมี ๑๖ ข้ันตอน ผู้เจริญอานาปานัสสติอยู่เสมอ เป็นผู้ไม่เผลอ มีสติตลอดเวลา ถือได้ว่า
เป็นผู้ไม่ประมาทในกิจการท้ังปวง เม่ือไม่ประมาทก็จะมุ่งพัฒนาตนในหลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ
ปัญญา เพ่ือให้ตนอยอู่ ยา่ งมคี วามสุขขนั้ ต้น คือขนั้ โลกิยสขุ คือการบรรลอุ รหัตตผล อันเป็นผลจากการ
ปฏิบัติจนหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะทั้งหลาย ผู้มีสติจะมีลักษณะรู้ตัวและตระหนักอยู่เสมอในการ
สร้างสรรคส์ ง่ิ ทดี่ ีงามทีด่ ีแก่ตนและโลกอย่างแทจ้ ริง

         ฐิติรัตน์ รักษ์ใจตรง๑ ศึกษาการใช้อานาปานสติภาวนาเพ่ือพัฒนาคุณภาพชีวิตของเสถียร
ธรรมสถาน ที่ฝึกสอนโดยแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต พบว่าคะแนนของพฤติกรรมก่อนและหลังการฝึก
ปฏบิ ตั อิ านาปานสติภาวนามคี วามแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญ แสดงให้เห็นชัดเจนว่า หลังจากได้รับการ
ฝึกปฏิบัติอานาปานสติภาวนา ผู้ปฏิบตั สิ ามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตดีข้ึน โดยอานาปานสติภาวนาหรือ
อานาปานสติสมาธิ พระพุทธเจ้าสรรเสริญมากกว่าวิธีเจริญสมาธิอ่ืนๆ เมื่อทาให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป
เพื่อความหน่าย เพ่ือคลายกาหนัด เพ่ือดับ เพ่ือความสงบ เพื่อความรู้ย่ิง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ซึ่ง
พระอรรถกถาจารย์ท่านได้ขยายความ อานาปานสติเป็นยอดแห่งกัมมัฏฐาน เป็นภูมิธรรมแห่ง
มนสกิ ารของพระพทุ ธเจา้ พระปัจเจกพุทธเจ้า และพทุ ธบตุ รที่เปน็ มหาบุรุษ เทา่ นัน้

         สรปุ
         งานวิจัยกัมมัฏฐานท่ีพบ ปรากฏอยู่ในช่วง พ.ศ. ๒๕๓๓ – ๒๕๕๕ แบ่งเป็นการศึกษา
กัมมัฎฐานประเภทต่างๆ และกัมมัฎฐานของพระภิกษุสงฆ์ท่ีมีช่ือเสียง งานวิจัยในส่วนแรก พบว่า มี
การวิจัยกัมมัฎฐานประเภทสติปัฏฐาน ๔ (ยุบหนอพองหนอ) มากที่สุด เพราะได้รับความนิยมกันใน
ปัจจุบัน กัมมัฏฐานประเภทน้ีมีท่ีมาจากสานักมหาสีสะยาดอ (โสภนมหาเถระ) สานักสาสนยิตสา
ประเทศพม่า เป็นการประยุกต์นาเอาหลักการแห่งธาตุมนสิการในกายานุปัสสนาสติปัฎฐานมาใช้ แต่
คงหลักการไว้ คือ การกาหนดลมหายใจเข้าออกในหมวดอานาปานบัพพะ ปัจจุบัน มหาวิทยาลัย มหา
จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้ใช้แนวทางนี้ ในหลักสูตรการเรียนการสอนกัมมัฎฐาน นอกจากนี้ยังพบ
งานวิจัยเก่ียวกบั อานาปนสติกัมมัฏฐาน อสภุ กัมมฏั ฐาน และกายคตาสติกัมมัฏฐานเท่าน้ัน กัมมัฏฐาน
ประเภทอ่ืนในสมถกัมมัฏฐาน ๔๐ ไม่ปรากฏ งานวิจัยประเภทหลัง ที่เน้นตัวบุคคล ได้แก่ การปฏิบัติ
กัมมัฏฐานตามแนวทางของ พระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโม) กัมมัฏฐานาของพระมงคลเทพ
มนุ ี (สด จนทฺ สโร) หลวงพอ่ ฤาษีลงิ ดา และแมช่ ศี นั สนยี ์ เสถียรสตุ เปน็ ต้น

        ๑ ฐิติรัตน์ รักษ์ใจตรง “ศึกษาการใช้อานาปานสติภาวนาเพ่ือพัฒนาคุณภาพชีวิตของเสถียรธรรมสถาน”วิทยานิพนธ์พุทธ
ศาสตรมหาบัณฑิต (บัณฑิตวิทยาลัย มหาวทิ ยาลัยมหาจฬุ าลงกรณราชวทิ ยาลยั , ๒๕๕๐).
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57