Page 20 - กัมมัฏฐานโบราณล้านนา
P. 20

๘

ย้ายอารมณ์จิตของผู้ปฏิบัติ จะต้องจดจ่ออยู่กับอารมณ์ท่ีปฏิบัติอย่างจดจ่อและต่อเนื่อง ไม่สนใจ
อารมณ์อน่ื ที่เกิดขึ้นมาแทรก หากยา้ ยอารมณ์ไปกเ็ ป็นอนั เสยี สมาธิ

         สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส๑ กล่าวถึง หลักการสอนมูล
กัมมัฏฐานให้แก่ผู้บวชในพระพุทธศาสนาเถรวาทว่า หลังจากกล่าวคาขอบรรพชาแล้ว พระอุปัชฌาย์
จะรับผ้าไตรมาจากผู้ทจี่ ะบรรพชา แล้วจะกล่าวสอนให้มีความเลื่อมใสในพระรัตนตรัย โดยยึดเอาพระ
รัตนตรัยเป็นท่ีพ่ึง หลังจากนั้นพระอุปัชฌาย์จะบอกกัมมัฏฐาน คือ สอนให้รู้จักพิจารณา ผม (เกสา)
ขน (โลม) เล็บ (นขา) ฟัน (ทันตา) และหนัง (ตโจ) ว่าเป็นของปฏิกูลน่ารังเกียง ซ่ึงรวมเรียกว่า “ตจ
ปญั จกกมั มฏั ฐาน”

         พระธรรมวโรดม (บุญมา คุณสมฺปนฺโน)๒ กล่าวถึงหลักการสอนมูลกัมมัฏฐาน ว่ามีข้อ
สาคัญอยู่ประการหนึ่ง คือ ต้องป้องกันใจไม่ให้ฟุ้งซ่านซัดส่ายไปในเรื่องกามารมณ์ ฉะน้ัน ในเบื้องต้น
แห่งการบรรพชาอุปสมบท พระบุรพาจารย์ จึงให้สอน “ตจปัญจกกัมมัฏฐาน” ก่อน คือ กัมมัฏฐาน
อันกาหนดด้วยอาการ ๕ คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ให้พิจารณาเห็นว่าอาการทั้ง ๕ น้ันไม่ดีไม่งาม
ปฏิกูลพึงเกลียด โดยพิจารณาตามปรกติของอาการเหล่าน้ัน เช่น ผม ถ้าเราปล่อยตามธรรมดา
ธรรมชาติ ไม่รักษาความสะอาด จะเป็นอย่างไรก็ช่างมัน เช่นนั้นแล้ว จักเป็นของที่สกปรก เป็นที่
รังเกียจท้ังตนทั้งผู้อ่ืน ท่ีเป็นของดีงามน่าดูน่าชมก็เพราะคนเราหม่ันปฏิบัติตกแต่งอยู่เป็นนิจ เพ่ง
พจิ ารณาอย่างนี้ จักเห็นอาการทัง้ ๕ น้นั โดยปรกติเป็นของไม่งาม

         พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ)๓ อธิบายเร่ืองของกาย ว่าเป็นที่ประชุมแห่ง
ของอันน่าเกลียดอย่างยิ่ง คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เย่ือ เอ็น กระดูก เย่ือในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ
พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า มันสมอง ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันขัน
นาตา เปลวมัน น้าลาย น้ามูก ไขข้อ มูตร หรือเป็นที่รวมอวัยวะน้อยใหญ่ เม่ือจิต เจตสิก รูป มา
รวมกันอยู่ในกายก็เกิดเป็นกายสิทธิ์ จะแสวงหามนุสสมบัติก็ได้ เช่นบุคคลจะมั่งค่ังสมบูรณ์ด้วยปัจจัย
๔ มีเครื่องนุ่งห่ม เคร่ืองอุปโภคบริโภคท่ีอยู่ที่อาศัย ยาแก้ไข้ต่างๆ จะมีเงิน มีทองมากมายก่ายกอง
เท่าไร ก็ต้องอาศัยสกลกายน้ีท้ังหมด รวมความว่าจะบริบูรณ์พูนสุขด้วยสมบัติภายนอกทุกๆ อย่าง ก็
ต้องอาศยั สกลกายนี้ท้ังหมด เช่นให้ทาน รักษาศีล ฟังธรรม เจริญสมถกัมมัฏฐาน วิปัสสนากัมมัฏฐาน
จนได้บรรลุมรรค ผล นพิ พาน ต้องอาศัยกายนี้ทง้ั น้ัน

         วศิน อินทสระ๔ กล่าวถึงการพิจารณาความไม่เท่ียงของร่างกายว่า ความต้ังอยู่ยั่งยืนของ
ร่างกายใดไม่มี ท่านจงดูกายนั้นซ่ึงกรรมทาให้วิจิตรแล้ว มีแผลอยู่เป็นประจา มีกระดูกเป็นโครง น่า

        ๑ สมเด็จพระมหาสมณเจา้ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, วนิ ัยมุข เล่ม ๓, (กรงุ เทพฯ: สานักพมิ พเ์ ล่ยี งเชียง, ๒๕๔๖).
        ๒ พระธรรมวโรดม (บุญมา คุณสมปฺ นโฺ น), คู่มือพระอปุ ัชฌาย์, พิมพ์ครั้งท่ี ๖, (กรุงเทพฯ: สหายพฒั นาการพิมพ์, ๒๕๔๐).
        ๓ พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทธฺ ิ), วิปัสสนากมั มฏั ฐาน, (กรุงเทพฯ: บรษิ ทั ทอมรนิ ทร์ พริ้นต้ิง จากัด, ๒๕๓๒).
        ๔ วศิน อินทสระ, ลลี ากรรมของสตรีสมยั พทุ ธกาล, พิมพ์ครง้ั ที่ ๓, (กรงุ เทพฯ: เมด็ ทราย, ๒๕๔๙).
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25